Criterion 4 for 2563

เกณฑ์คุณภาพที่ 4 : วิธีการเรียนการสอน (Teaching and Learning Approach)

เกณฑ์คุณภาพย่อยที่ 4.1 

ผลการดำเนินงาน

                   มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้แสดงปรัชญาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไว้อย่างชัดเจนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถหาข้อมูลได้จากหลายแห่ง ได้แก่ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เข้าถึงได้จาก

(หลักฐาน AUN-QA-4-2) ในส่วนของหลักสูตรได้แสดงข้อมูลของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทางเว็บไซต์ของคณะ เข้าถึงได้จาก (หลักฐาน AUN-QA-4-1.4) ผ่านเว็บไซต์ของหลักสูตรเข้าถึงได้จาก (หลักฐาน AUN-QA-4-1.3)    ส่วนปรัชญาของหลักสูตรคือ “มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการทักษะทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อการสร้างนวัตกรรม อาชีพ มีทักษะด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาพัฒนางานท้องถิ่นชุมชนโดยยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม” ซึ่งปรัชญาของหลักสูตรสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถหาข้อมูลหลักสูตรหาได้จากหลายแห่ง เช่น เว็บไซต์ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-1.1)  แฟนเพจเฟสบุ๊คและเว็บไซต์ของสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แม่สอด (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-1.2) และ (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-1.3)

 

เกณฑ์คุณภาพย่อยที่ 4.2 

ผลการดำเนินงาน

                   หลักสูตรได้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจนไว้ใน มคอ.2 (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-1) แต่เป็นการแสดงถึงการเน้นเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                   โดยทางหลักสูตรได้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้แยกกันสำหรับ 3 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ทั้งยังมีการกำหนดองค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม และข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย ซึ่งล้วนแต่เพื่อต้องการให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งผู้สอนในแต่ละรายวิชา ได้นำกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้นั้นมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของแต่ละตัวบุคคลของผู้สอน พร้อมทั้งมีการประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละรายวิชา (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-1)   และบูรณาการให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนไปใช้ในการให้บริการชุมชน เช่น การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21   (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-4) ในปีการศึกษา 2563 ได้แก่ การจัดโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศตวรรษที่ 21 และพัฒนาทักษะดิจิทัล กิจกรรมพัฒนาทักษะช่างและทักษะดิจิทัลโปรแกรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ให้แก่นักศึกษาของโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการและวิชาอาชีพ  และมีการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (WIL)  โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และกำหนดวิธีการประเมินผลดังนี้

          1) ประสานกับสถานประกอบการ  

          2) กำหนดทักษะที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ประเมินทักษะ (มคอ.3) (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-7)   

  1. 3. นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการตามช่วงเวลาที่กำหนด

          4) จัดกิจกรรมสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสถานประกอบการ นักศึกษา และอาจารย์ เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนที่จะดำเนินการต่อในปีการศึกษาถัดไป ได้แแก่การจัดโครงการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในระดับรายวิชา(CWIE) กิจกรรมการพัฒนาทักษะการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถานประกอบการ (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) ในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนแม่ปะ ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  รวมถึงเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา 5722104 การบำรุงรักษาไมโครคอมพิวเตอร์ (รายการหลักฐาน AUN-QA-4-4)   

          อย่างไรก็ตาม หลักสูตรมีการวางแผนและประชุมในประเด็นวิธีที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ กันอีกครั้งในการปรับปรุงหลักสูตรภายในปี พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดให้เป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับวิธีที่ใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุ ELOs ที่จะถูกกำหนดไว้ให้ชัดเจนและสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น

 

เกณฑ์คุณภาพย่อยที่ 4.3 

ผลการดำเนินงาน

                   มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตครอบคลุมทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะการคิด (Thinking Skill) ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ทักษะความเป็นมืออาชีพ (Professional Skill) ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication Skill) และทักษะด้านการจัดการ (Management Skill) ซึ่งนอกจากการดำเนินการตามวิธีการสอนดังที่กล่าวมาในเกณฑ์คุณภาพย่อยที่ 4.2 บางรายวิชา อาจารย์ผู้สอนมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะจากสถานการณ์จริง นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา การให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม (เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต) จากหนังสืองานวิจัยในสาขาวิชา หรือทางอินเตอร์เน็ต และนำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากมีความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากตำราเรียน และในบางรายวิชา ได้มีการให้นักศึกษาได้ทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต

          กระบวนการจัดการเรียนการสอน กำหนดให้มีกลยุทธ์การเรียนการสอนและการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังนี้

1) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทางหลักสูตรได้สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติพร้อมในการทำงานจริง ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษา (AUN-QA-4-5)

2) เป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้แก่ “บัณฑิตมีจิตอาสา สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” กิจกรรมซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์  โดยให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่ชุมชนเป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น  (AUN-QA-4-4)

3) เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตของเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แก่ “บัณฑิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรองรับแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน”  มีการจัดทดสอบมาตรฐาน Digital Literacy Certification Certificate (IC3) (AUN-QA-4-6)

4) เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตของหลักสูตร  “บัณฑิตมีความรู้ความสามารถและทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์” จัดอบรมเสริมความรู้เรื่องเครือข่ายจากสถานประกอบการเป็นวิทยากร  ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 รายวิชาโครงงานนศ.ต้องเลือกงานที่จะทำเอง ศึกษาค้นคว้า เครื่องมือที่จะใช้ในการพัฒนาเอง เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษา  

 

รายการหลักฐาน

 

 

ผลการประเมินตนเอง

ตารางแสดงข้อมูลต่าง ๆ

4

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1

2

3

4

5

6

7

4.1

ปรัชญาการศึกษามีความชัดเจน และสื่อสารสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย [1]

 

         

4.2

กิจกรรมการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับการบรรลุผล การเรียนรู้ที่คาดหวัง [2, 3, 4, 5]

 

         

4.3

กิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต [6]

   

       

ระดับคะแนนในภาพรวม (Overall opinion)

 

         
Today132
Yesterday1265
This week1397
This month2523
Total730650

Who Is Online

1
Online

2567-12-03

Login Form

© 2024 Computer Technology Maesot By : Krittidhed Chindarphad